เปิดโลก เกมesport แข่งกันเกมไหน และทำเงินจากไหนบ้าง?
ในยุคนี้ ถ้าใครยังคิดว่าการติด เกมesport คือไม่มีอนาคตนั้น ถือว่าเชยมาก เพราะการเล่นเกมนั้นจริงจังถึงขั้นมีการแข่งชิงแชมป์โลก และสามารถหาเงินได้จากการสตรีมเกม การพากย์เกม และยังเป็นอินฟลูเอนเซอร์สายเกมได้ด้วย
เกมesport ถือกำเนิดและมีจุดเริ่มต้นอย่างไร?
ในสมัยก่อนการแข่งเกม เป็นหนึ่งในการโปรโมทของบริษัทที่ผลิตเกมออกมาขาย เช่น บริษัท Sega และ Konami ในญี่ปุ่น เพื่อให้เกมขายดี ซื้อตลับเกมไปเล่นกันมากขึ้น การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตในยุค 90 ทำให้เกม PC ที่เล่นกันแบบออฟไลน์เข้าถึงคนวงกว้างขึ้น มีเกมใหม่ๆ ที่ได้แรงบันดาลใจจากเกมในตำนานอย่าง Street Fighter อย่างเช่นเกม Doom, Counter-Strike, StarCraft, Warcraft โดยแนวเกมจะเล่นได้หลายคนหรือ multi player ทำให้สามารถจัดแข่งกันเป็นทีมได้
ช่วงทศวรรษ 2010 คือช่วงที่การแข่ง อีสปอร์ต ในรูปแบบลีกใหญ่และเงินรางวัลใหญ่เฟื่องฟู จำนวนทัวร์นาเมนต์เพิ่มขึ้นจากประมาณ 10 ทัวร์นาเมนต์ในปี 2000 สู่ 260 ทัวร์นาเมนต์ ในปี 2010 เมื่ออินเทอร์เน็ตมีความเสถียรขึ้น ก็ทำให้แพลตฟอร์มไลฟ์สตรีมที่เพิ่งเกิดไม่นานอย่าง Twitch และ YouTube สามารถในการถ่ายทอดสดเกมยาวๆ ได้ โดยเฉพาะ Twitch ที่สร้างตัวขึ้นมาจนกลายเป็นแพลตฟอร์มสำหรับเนื้อหาเกม ดึงดูดคนดูการเล่นเกม League of Legends และ Dota 2 ได้กว่าหมื่นล้านวิว
จะเห็นได้ว่า เกมesport ก็พัฒนามาจากตัวเกมทั่วไปที่ค่อยๆ สะสมฐานแฟนคลับจนกลายเป็นคอมมูนิตี้ใหญ่ และนำมาสู่การแข่งขัน จากเล็กไปยังลีกภูมิภาค และลีกระดับโลก
ปัจจุบัน แนวเกมที่นิยมมาแข่งใน อีสปอร์ต คือ FPS หรือ first-person shooter, เกมแนว MOBA หรือ multiplayer online battle arena, เกมแนว RTS หรือ real-time strategy, เกมการ์ด, เกมเอาตัวรอด และรายชื่อเกมที่มีการแข่งอีสปอร์ตกันอยู่บ่อยๆ คือ League of Legends, Dota, Counter-Strike, Valorant, Overwatch, Street Fighter, Super Smash Bros และ StarCraft เป็นต้น
ความสนุกของ esport อยู่ที่ความซับซ้อนของเกม การต้องใช้กลยุทธ์และการวางแผนสูงสุด ยกตัวอย่างเกม League of Legends ที่ผู้เล่น 5 คน ต้องวางกลยุทธ์เพื่อทำลายฐานฝ่ายตรงข้าม บางคนต้องทำหน้าที่อยู่ในป่า เพื่อทำลายมอนสเตอร์เก็บคะแนน ผู้เล่นคนอื่นอยู่ตามเล่นต่างๆ เพื่อทำลายหรือสร้างแดเมจให้กับฝ่ายตรงข้ามให้มากที่สุด
ดังนั้น อีสปอร์ต ที่นิยมแข่งจึงเป็นเกมที่ออกแบบมาเพื่อประชันความสามารถของทีม ใช้กลยุทธ์และความหลากหลายของอาวุธและตัวละครในเกม ซึ่งต้องอาศัยการฝึกซ้อมจนชำนาญ เพราะต้องใช้ไหวพริบและทำหลายสกิลภายในเสี้ยววินาที ถึงจะเป็นระดับโปรเพลเยอร์ หรือผู้ที่เล่นจนยึดเป็นอาชีพนักกีฬาได้
รายได้ไหลของ อีสปอร์ต มาจากช่องทางไหน?
รายได้หลักของ เกมesport มาจาก 5 ช่องทางหลักๆ คือ
- สปอนเซอร์ มักเป็นแหล่งรายได้หลักสำหรับองค์กรอีสปอร์ต ซึ่งคิดเป็นประมาณ 40% ของรายได้ทั้งหมด สปอนเซอร์มักเป็นแบรนด์ที่ผลิตสินค้าเกมมิ่ง ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์เกมมิ่ง โน้ตบุ๊กเกมมิ่ง หูฟัง เก้าอี้เกมเมอร์ ไปจนถึงเครื่องดื่มบำรุงกำลังต่างๆ ซึ่งถ้าใครดู การแข่งขันอีสปอร์ต ลองสังเกตที่เสื้อนักกีฬา จะเห็นโลโก้แบรนด์ผู้สนับสนุนวางอยู่ประปราย
- รายได้จากการโฆษณา คล้ายๆ กับสปอนเซอร์ คือการวางโลโก้ และคลิปโฆษณาสั้นในคลิปไลฟ์ระหว่างแข่ง มีทั้งรูปแบบปรากฏโลโก้ แบนเนอร์ช่วงพักครึ่ง
- สินค้า หรือ Merchandise ทีมอีสปอร์ต มักขายสินค้าของตนเพื่อขายแฟนๆ ให้ซื้อสินค้านี้และสนับสนุนทีมโปรดของพวกเขา สินค้าสามารถเป็นได้ทั้งแบบจับต้องได้และแบบดิจิทัล
- รางวัลจากการแข่งขัน ใน การแข่งอีสปอร์ต แต่ละเกมและแต่ละลีก มีรางวัลชนะเลิศที่มาพร้อมจำนวนเงินล่อใจถึงหลักล้าน
- การแบ่งรายได้ของลีก ในลีกอีสปอร์ตขนาดใหญ่ จะมีการแข่งรายได้ขากการขายตั๋ว และสปอนเซอร์ให้กับทีมหรือองค์กรอีสปอร์ตด้วย เมื่อสิ้นสุดฤดูกาล
การแข่งขันอีสปอร์ต คืออะไร? มีรายได้มหาศาลมากแค่ไหน?
เกมesport มีที่มาจากความนิยมของเกมออนไลน์ เกมมือถือทั่วไป ที่โด่งดังและได้รับความนิยมจากผู้เล่นเกมทั่วโลก จนเกิดเป็น อีสปอร์ต และมีเติบโตจนกลายเป็นงานอีเว้นท์ใหญ่ๆ อย่าง การแข่งขันอีสปอร์ต เช่นเดียวกับกีฬาฟุตบอล ผู้คนมีมุมมองต่อการเล่นเกม การแข่งเกม ว่าเป็นเกมกีฬาอย่างหนึ่ง ด้วยความเติบโตอย่างรวดเร็วของ วงการอีสปอร์ต ทำให้เกิดเป็น การพนันอีสปอร์ต ที่เติบโตควบคู่ไปด้วยอย่างรวดเร็วเช่นเดียวกัน ซึ่งในปีที่ผ่านมา วงการอีสปอร์ต นั้นสร้างเงินอย่างสะพัดมากมาย โดยเกมการแข่งที่มีเงินรางวัลเยอะที่สุดได้แก่ Dota 2 ซึ่งมีเงินรางวัลรวมตลอดกาลอยู่ที่ 303,675,526 ดอลลาร์ ถัดมาคือ Counter-Strike: Global Offensive 124,096,678 ดอลลาร์ , Fortnite 100,039,883 ดอลลาร์ , League of Legends 96,684,852 ดอลลาร์ และ PUBG Mobile 71,398,143 ดอลลาร์ ตามลำดับ
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ esports-168.com